top of page

5 ความเชื่อเกี่ยวกับโยคคะที่เป็นเรื่องเท็จ





คำว่าโยคะมีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ที่ออกเสียงว่า ยุท หรือหมายความว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าว่ากันตามคำภีย์โยคะ ที่เรียกว่าโยคะสุตรานั้น การฝึกโยคะ เป็นเครื่องช่วยนำพาให้สติปัญญาของเราเชื่อมต่อกับพลังงานในจักรวาลได้ การฝึกโยคะที่มีต้นกำเนิดมากว่า 5000 ปีนั้นมีรากฐานมาจากอารยธรรม อินดุส สรัสวะตรีทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งทุกวันนี้มีคนฝึกโยคะกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก

ความเก่าแก่และคำล่ำลือเป็นของคู่กัน ยิ่งโยคะกระจายตัวออกไปทั่วโลกมากเท่าไหร่ ก็ดูเหมือนว่าความเชื่อและข้อเท็จจริงต่างๆก็จะยิ่งมากตาม ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องรู้ว่าความเชื่อแบบไหนที่เป็นเรื่องจริง แบบไหนคือเรื่องเท็จ


ความเชื่อที่เป็นเท็จข้อที่ 1 คนตัวอ่อนเท่านั้นถึงจะฝึกโยคะได้

ถ้าหากว่าครูสอนโยคะทุกคนจะได้รับเงินคนละบาท ทุกครั้งที่ได้ยินว่า ‘โยคะมีไว้สำหรับคนตัวอ่อนเท่านั้น’ หรือว่าเวลาคนบอกว่า ‘ไม่สามารถฝึกโยคะได้เพราะตัวแข็ง หลังแข็งเกินไป’ แล้วละก็ เราเชื่อว่าครูโยคะทุกคน คงมีเงินเก็บจากคำพูดเหล่านี้มากพอให้ไปใช่จ่ายค่ารีทรีตโยคะสุดหรูบนเกาะส่วนตัวกันไปแล้วละ ซึ่งจริงๆแล้วโยคะเองเป็นเครื่องมือในการฝึกความแข็งแรงและปรับให้ร่างกายยืดหยุ่นที่ดีทีเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ฝึกจะต้องมีทั้งสองคุณสมบัตินี้มาตั้งแต่แรก ความเชื่อที่ว่าต้องตัวอ่อนเท่านั้นถึงจะฝึกโยคะได้ น่าจะมาจากทางพวกฝรั่งตะวันตก เพราะจริงๆแล้วการฝึกท่าทาง ที่เราเรียกว่าอาสานะในโยคะนั้น เป็นเพียงส่วนเล็กๆของโยคะทั้งหมดที่มี เป็นเพียงการเริ่มต้นก้าวเล็กๆที่จะนำไปสู่การบรรลุถึงการเข้าใจตนเองและเห็นสัจธรรมของมนุษย์ การฝึกอาสนะคือการเตรียมร่างกายให้พร้อมที่จะฝึกสมาธิในขึ้นสูงต่อไป โยคีหรือพระในพุธกาลฝึกอาสานะเพื่อให้ร่างกายพร้อมรับกับการนั่งสมาธิในความสงบนิ่งเป็นเวลานานหลายชั่วโมง สำหรับผู้ฝึกโยคะที่เพิ่งเริ่มต้นฝึกนั้น แทนที่จะถามครูว่า ทำท่านี้ถูกต้องหรือยัง? ควรต้องถามตัวเองว่า ทำท่านี้แล้วร่างกายรู้สึกดีหรือไม่มากกว่า และถ้าหากว่าคำตอบคือไม่ นั้นก็แปลว่าผู้ฝึกกำลังโฟกัสผิดที่เสียแล้ว


ความเชื่อที่เป็นเท็จข้อที่ 2 โยคะเป็นเพียงเทรดน์ออกกำลังกายสำหรับพวกฮิปปี้เท่านั้น

เราอยากบอกว่าการฝึกโยคะไม่ใช่การเอาสร้อยประคำมาคล้องคอและการไปยืนกอดต้นไม้เท่ๆ แต่การฝึกโยคะนั้นเป็นหนึ่งในการออกกำลังกายที่มีงานวิจัยรับรองถึงผลลัพธ์ออกมานับไม่ถ้วน อาทิเช่นโยคะช่วยลดการหลั่งสารความเครียดในร่างกาย ช่วยเรื่องความดันต่ำ เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ทำให้ความจำดีขึ้น และช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกความเชื่อเท็จหนึ่งที่คล้ายคลึงกันก็คือ โยคะเป็นศาสนาหนึ่ง ถึงแม้ว่าในตัวโยคะเองจะมีการกล่าวอ้างถึงและมีส่วนประกอบจากศาสนาพุทธและฮินดูเข้ามาบ้าง แต่หัวใจหลักที่เป็นจุดสำคัญของโยคะก็คือ การฝึกสติของตัวเอง ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับร่างกาย ใจ และจิตวิญญาณ


ความเชื่อที่เป็นเท็จข้อที่ 3 โยคะยากเกินไป

ความจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นงานใหม่ ทักษะใหม่ๆ หรือแม้กระทั้งงานอดิเรกชนิดใหม่ ล้วนมีความยากในตอนแรกเริ่มทั้งสิ้น ซึ่งไม่เว้นแม้แต่กับการฝึกโยคะในตอนแรกเช่นกัน ถึงแม้มันจะไม่ยาก แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินการฝึกฝน แต่ก็มีผู้ฝึกหลายคนที่เหมารวมแบบนั้นไปแล้ว ว่าโยคะยากเกินกว่าจะทำได้ ความจริงแล้วโยคะเป็นการฝึกฝนที่ยากที่สุดสำหรับอีโก้หรือทิฐิมากที่สุด คงจะเป็นเรื่องง่ายถ้าร่างกายเราพร้อมรับกับการฝึกระดับยากทุกครั้งเมื่อกางเสื่อออก การกระโดดขึ้นท่าแฮนสแตนด์กลางห้องฝึกดูจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับอีโก้ มากกว่าการนอนทำสมาธิในท่าเด็ก ในระหว่างที่คนอื่นๆกำลังฝึกท่ายากกันอยู่ ยิ่งเป็นคนที่เริ่มฝึกด้วยความกลัว ความไม่มั่นใจและคอยระวังว่าคนรอบข้างจะมองเราอย่างไรด้วยแล้ว การฝึกโยคะในครั้งแรกก็คงจะยิ่งยากขึ้นไปอีก แล้วเราควรจะทำอย่างไรดีกับความกลัวเหล่านี้? สิ่งที่ผู้ฝึก

ทุกระดับสามารถทำได้เลยก็คือ การสังเกตร่างกายตัวเอง สังเกตให้ดีว่าท่าไหน ระดับไหนที่รู้สึกดีต่อร่างกาย ไม่ใช่การฝืนร่างทำท่ายาก และจำไว้ว่าทุกคนในห้องก็กำลังพยายามจดจ่อกับการฝึกของตัวเองเหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องใส่ใจว่าใครจะมองเรา


ความเชื่อที่เป็นเท็จข้อที่ 4 โยคะเป็นกีฬาของผู้หญิงเท่านั้น

ในความเป็นจริงแล้ว โยคะเคยเป็นการฝึกฝนสำหรับผู้ชายเท่านั้น จนกระทั้งในปี 1947 ที่อินทรา เดวิ ผู้ฝึกโยคะหญิงคนแรก ได้เปิดสตูดิโยคะขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ปัจจุบันนี้คนอเมริกันฝึกโยคะกันมากถึง 20 ล้านคน แต่ผู้ฝึกที่เป็นผู้ชายมีน้อยกว่า 18% ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า ที่การที่โยคะมีผู้หญิงมาฝึกมากกว่าผู้ชาย อาจเป็นเพราะเมื่อมองอย่างผิวเผินแล้ว โยคะดูจะเหมาะกับสรีระของผู้หญิงมากกว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีที่ผ่านมา เริ่มมีผู้ชายฝึกโยคะมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นนักบาสเก็ตบอลเอ็นบีเอ ไปจนถึงนักดับเพลิงหุ่นกำยำ คงเป็นเพราะประโยชน์จากการฝึกโยคะที่เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นนั้นเอง แล้วถ้ายังคิดว่าโยคะดูเหมาะกับผู้หญิงมากกว่า เราอยากให้ผู้ชายลองทำท่า ยืนด้วยศอกขาชี้ฟ้า หรือว่าท่านกยูง ที่ไม่ดูอ้อนเอ่นอย่างชื่อ แต่กลับต้องใช้กล้ามท้องและข้อมือที่แข็งแรงในการยกตัวทั้งตัวให้ลอยในแนวระนาบกับพื้น


ความเชื่อที่เป็นเท็จข้อที่ 5 โยคะก็เหมือนๆกันทุกแบบ

โยคะมีหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกโยคะที่เข้มข้นเหมือนการเทรนนักกีฬา ไปจนถึงโยคะที่เน้นด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ตัวเลือกนั้นมีไม่สิ้นสุด ถ้าหากว่าคุณกำลังลดไขมันหน้าท้องอยู่ ท่างูเห่าคือท่าที่เหมาะกับคุณ ถ้าหากว่าคุณมีปัญหานอนไม่ค่อยหลับ ท่าผู้กล้า หรือว่าท่าฮีโร่คือท่าที่จะช่วยคุณได้ หรือถ้าคุณมีปัญหาปวดเรื่อยรัง ท่ากลับบนลงล่างต่างๆก็จะช่วยให้อาการคุณดีขึ้นเรื่อยๆเมื่อฝึกเป็นประจำ หรือว่าคุณต้องการเป็นคนความจำดี ท่าปลาคือคำตอบของคุณ นัยยะสำคัญที่ต้องการบอกก็คือโยคะมีท่าที่เหมาะกับคนทุกรูปแบบ และมีการปรับท่าให้เหมาะกับร่างกายแต่ละคนเสมอ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือทดลองฝึกโยคะในรูปแบบต่างๆเพื่อค้นหาว่าแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณก็เท่านั้นเอง

เอาละ เมื่อเราเคลียร์ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโยคะได้หมดแล้ว สเต็ปต่อไปก็คือการเปลี่ยนชุด กางเสื่อออกแล้วลงมือฝึกโยคะกัน



แปลบทความและเรียบเรียงใหม่จาก https://www.forbes.com/sites/nomanazish/2018/02/28/five-yoga-myths-that-you-should-stop-believing-right-now/#7ad4fa191d2e

ดู 253 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page